วิธีไขลานนาฬิกาที่ถูกต้อง
1. ไม่ไขลานนาฬิกาขณะที่นาฬิกาอยู่บนข้อมือ
เนื่องจากจะมีแรงดันกระทำที่แกนไข
จะทำให้มีการสึกหรอของแกน เม็ดมะยม และกลไกภายในได้
2. ใช้นิ้วสองนิ้วออกแรงหมุนเม็ดมะยม(ไม่กดหรือดันไปด้านใดด้านนึง)
2. ใช้นิ้วสองนิ้วออกแรงหมุนเม็ดมะยม(ไม่กดหรือดันไปด้านใดด้านนึง)
อาจเป็นนิ้วโป้ง กับ นิ้วชี้ หรือ นิ้วกลาง แล้วแต่ความถนัด
แต่ไม่ควรใช้นิ้วเดียวไถเม็ดมะยม โดยออกแรงดันจากด้านเดียว
(ด้วยเหตุผลเดียวกับข้อ1)
3. ถ้านาฬิกาเรือนนั้นมีระบบบอกพลังงานสำรอง
3. ถ้านาฬิกาเรือนนั้นมีระบบบอกพลังงานสำรอง
ให้ใช้สเกลบอกพลังงานเป็นตัวชี้นำ ปริมาณการไขลาน
4. นาฬิกาที่ไม่มีระบบบอกพลังงานสำรอง ให้ค่อยๆหมุนเม็ดมะยมไปเรื่อยๆ
4. นาฬิกาที่ไม่มีระบบบอกพลังงานสำรอง ให้ค่อยๆหมุนเม็ดมะยมไปเรื่อยๆ
จนรู้สึกตึงมือ(ลานเต็ม)โดยออกแรงจับที่เม็ดมะยมแต่เพียงเบาๆ กะว่าเมื่อไขลานสุดจะทำให้นิ้วมือหลุดออกจากเม็ดมะยม
ก่อนที่จะออกแรงหมุนต่อจนลานขาด
เนื่องจากนาฬิกาไขลานเกือบทั้งหมดจะไม่มีระบบป้องกันการขึ้นลานเกิน
5. เมื่อไขลานเสร็จแล้วให้หมุนเม็ดมะยมย้อนกลับอย่างน้อยครึ่งรอบ
เพื่อให้กระปุกลานเป็นอิสระและทำให้สปริงลานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
6. เมื่อใช้งานควรไขลานนาฬิกาทุกวัน ควรไขลานในช่วงเวลาเดียวกัน
6. เมื่อใช้งานควรไขลานนาฬิกาทุกวัน ควรไขลานในช่วงเวลาเดียวกัน
(หรือทุกๆ 2-3 วันแล้วแต่ว่านาฬิกาของท่านสำรองพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน) เพื่อให้พลังงานจากลานคงที่ส่งผลให้การเดินของเข็มสม่ำเสมอและบอกเวลาได้อย่างแม่นยำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
---------
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น